แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564

ยุทธศาสตร์ที่ 2 อนุรักษ์ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

2.1 แผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมาย

ภายในปี พ.ศ. 2563 อัตราการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ รวมทั้ง พื้นที่ป่าไม้ และระบบนิเวศชายฝั่ง ลดลงร้อยละ 50

ภายในปี พ.ศ. 2563 ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นมีสถานภาพการอนุรักษ์และการจัดการที่ดีขึ้น และมีมาตรการในการอนุรักษ์และคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ดังกล่าว

ภายในปี พ.ศ. 2564 มีการเชื่อมโยงเครือข่ายพื้นที่คุ้มครอง และตัวแทนทางนิเวศ และมีมาตรการการจัดการในพื้นที่วิกฤติและมีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ

ภายในปี พ.ศ. 2564 มีกลไกและมาตรการด้านการบริหารจัดการ นโยบาย หรือกฎหมายในการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมของประเทศ

ตัวชี้วัด

1 ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น อย่างน้อย 5 ชนิด มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีมาตรการในการอนุรักษ์และคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ดังกล่าว

2 จำนวนเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองและตัวแทนทางนิเวศที่ได้รับการเชื่อมโยงเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5 แห่ง

3 มีการกำหนดมาตรการการจัดการในพื้นที่วิกฤติและพื้นที่ที่มีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อย 2 แห่ง

4 มีเครื่องมือ กลไก หรือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมของประเทศ

5 อัตราการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้และระบบนิเวศชายฝั่งลดลง ร้อยละ 50 จากปีฐาน 2557


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.1.1 พัฒนาระบบ กำหนดมาตรการและจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์เพื่อคุ้มครองพื้นที่ที่มีระบบนิเวศ พิเศษเฉพาะรวมถึงชนิดพันธุ์ที่หายากโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนในพื้นที่ 1. โครงการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วิกฤต (Sustainable Food Production and Natural Resources Conservation in Critical Landscapes)
2. กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
3. จัดทำมาตรการที่เหมาะสมเพื่อประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
4. การติดตามการดำเนินงานเพื่อจัดตั้งพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์พืช
2.1.1.2 เพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่วิกฤต และพื้นที่ที่มีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 1. ประเมินประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย
2. จัดหาและเพิ่มขีดความสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสำรวจประเมินสถานภาพ ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ตรวจสอบสิทธิครอบครองในพื้นที่ป่าไม้ ป่าชายเลน และจัดทำระบบฐานข้อมูล
2.1.1.3 เชื่อมโยงเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการในระดับพื้นที่ คงความสมบูรณ์ของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ 1. วางกรอบแนวทางและดำเนินงานเพื่อเชื่อมต่อระบบนิเวศ (corridor) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่คุ้มครองและระบบนิเวศ
2.1.1.4 พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และคุ้มครองระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 1. อบรมเจ้าหน้าที่และชุมชนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้กฎหมายระเบียบปฏิบัติ หลักการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.2.1 ศึกษา สำรวจ ประเมินสถานภาพ/ศักยภาพของระบบนิเวศและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศต่างๆ เพื่อวางแผนและมาตรการการจัดการชนิดพันธุ์ และถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ 1. ควบคุมป้องกันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และระบบนิเวศ
2. ศึกษาสำรวจประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ และพื้นที่อนุรักษ์
3. ศึกษา สำรวจ และติดตามสถานภาพขององค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ในพื้นที่ตัวแทนของระบบนิเวศ และพื้นที่วิกฤต (hotspot) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
4. ศึกษาศักยภาพของพื้นที่เพื่อเตรียมประกาศเขตพื้นที่คุ้มครอง/พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
5. ศึกษาและกำหนดมาตรการการจัดการในพื้นที่ตัวแทนของระบบนิเวศและพื้นที่วิกฤต
6. ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีสภาพเสื่อมโทรมและถูกรบกวนจากชุมชนเพื่อหามาตรการป้องกันแนวทางปฏิบัติและการอนุรักษ์พื้นที่
7. โครงการอนุรักษ์เพื่อสนองพระราชดำริ: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และอนุกรมวิธานของหิ่งห้อยเพื่อการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้บ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของเยาวชน
8. อนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลนแบบมีส่วนร่วม
2.1.2.2 เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 1. โครงการเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและจัดการระบบนิเวศพรุอย่างยั่งยืน (Maximizing carbon sink capacity and conserving biodiversity through sustainable conservation, restoration and management of peat-swamp ecosystem)
2. บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. ศึกษาและจำแนกพื้นที่อ่อนไหวและระบบนิเวศสำคัญที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดแผนปฏิบัติการคุ้มครองและฟื้นฟู
4. ศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้และสัตว์ป่าจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเตรียมมาตรการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการจัดการระบบนิเวศและสัตว์ป่าในอนาคต
5. โครงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคปศุสัตว์
2.1.2.3 ฟื้นฟูระบบนิเวศโดยเฉพาะระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศ 1. ฟื้นฟูระบบนิเวศโดยการริเริ่มจากท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาคเอกชน
2. การทดลองฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่วิกฤต
3. การฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยการจัดสร้างปะการังเทียมแบบบูรณาการ
4. ฟื้นฟูทรัพยากรปะการัง/ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วม
5. การฟื้นฟูป่าเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน
6. โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย
7. ปลูกป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป่าชุมชน
8. ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า
9. ตามรอยพ่อรู้รักษ์พิทักษ์ผืนป่า
10. จัดลำดับความสำคัญและวางมาตรการในการฟื้นฟูระบบนิเวศที่สำคัญ
11. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศของพรรณไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
12. ติดตาม ประเมินผลการจัดการฟื้นฟูสังคมพืชในแต่ละภูมินิเวศในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
13. โครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา
14. อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ตามแนวทางเชิงนิเวศ
15. อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศในเขตปฏิรูปที่ดินโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ด้วยการสนับสนุนการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.3.1 จัดทำมาตรการเชิงนโยบายกฎหมายและการจัดการรวมถึงแผนการปกป้องคุ้มครอง และฟื้นฟูชนิดพันธุ์พื้นเมือง ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยดังกล่าวโดยให้ลำดับความสำคัญกับชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 1. จัดทำคู่มือ/ทะเบียนรายชื่อชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามสำหรับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟู
2. จัดทำแนวทางและมาตรการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูชนิดพันธุ์พืช สัตว์ในทะเบียนสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย (Thailand red data)
3. อนุรักษ์ชนิดพันธุ์พืชป่าเฉพาะถิ่นหายากและใกล้สูญพันธุ์
2.1.3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง และจัดตั้งเครือข่ายเพื่อดูแล คุ้มครองและฟื้นฟูชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและชนิดพันธุ์พื้นเมือง 1. โครงการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ประชามีสุข (อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์)
2. จัดอบรมการคุ้มครองและฟื้นฟูชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นและชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามแก่ชุมชนท้องถิ่น
3. จัดตั้งเครือข่ายคุ้มครองชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่ถูกคุกคามโดยชุมชนมีส่วนร่วม ควบคู่กับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
4. โครงการอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่อาศัย (in situ) สัตว์พื้นเมืองร่วมกับเกษตรกร
5. โครงการเฉลิมพระเกียรติจากสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น
2.1.3.3 ส่งเสริมบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ทั้งในถิ่นที่อยู่อาศัยและนอกถิ่นที่อยู่อาศัย 1. โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย (Combating Illegal Wildlife Trade, focusing on Ivory, Rhino Horns, and Pangolin in Thailand)
2. จัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์
3. อนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และ สัตว์ป่าอย่างยั่งยืน
4. อนุรักษ์ วิจัย ฟื้นฟู สัตว์ป่าหายาก
5. ศึกษาและดำเนินการเพื่อนำสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ
6. การอนุรักษ์กล้วยไม้แบบบูรณาการ
7. การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าและไม้ลานในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
8. เพาะและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนพืชน้ำ (เช่น พลับพลึงธาร) ที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคามในธรรมชาติ
9. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำชนิดหายากและ ถูกคุกคามในแหล่งธรรมชาติ
10. โครงการศึกษาวิธีการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย (ex situ conservation) และการขยายพันธุ์ของเฟิน ถิ่นเดียวและเฟินหายากของประเทศไทย
11. โครงการศึกษาวิธีการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย (ex situ conservation) และการขยายพันธุ์ของพืชไร่ในประเทศไทย
12. อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมในสวนสัตว์ภายในพื้นที่สวนสัตว์ของแต่ละสวนสัตว์
13. โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
14. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศของพรรณไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
15. สำรวจ ขยายพันธุ์ และสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและชนิดพันธุ์หายากตาม IUCN Red List
16. การจัดทำสวนสมุนไพรในชุมชน
17. โครงการจัดสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ป่า
18. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า - พื้นที่ป่า เขาน้ำซับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา - พื้นที่ป่า อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์
2.1.3.4 สนับสนุนงานวิจัยและติดตามการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามเพื่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ 1. การศึกษา สำรวจ และเผยแพร่ข้อมูลชนิดพันธุ์พืช ที่ถูกคุกคามในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
2. ศึกษาวิจัยชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.4.1 อนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ใช้ในการผลิตอาหารและการเกษตร 1. การสำรวจรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพื้นเมือง พืชป่าที่เป็นเครือญาติกับพืชปลูก
2. พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมที่ใช้ในการผลิตอาหารและการเกษตร
3. สำรวจจัดจำแนกและประเมินสถานภาพการใช้ประโยชน์ของสายพันธุ์สัตว์
4. โครงการปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารสัตว์
5. โครงการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ
6. โครงการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายพันธุกรรมสตอเบอรี่
7. พัฒนาแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ผลเขตร้อนเพื่อความยั่งยืนขององค์ความรู้สู่การพัฒนางานด้านการเกษตร
2.1.4.2 อนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสัตว์ จุลินทรีย์ รวมทั้งพืชและสัตว์ป่า 1. การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ (เก็บรักษาเชื้อพันธุ์ ในแหล่งเก็บ และตรวจสอบแหล่งเก็บเชื้อพันธุ์)
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 1. โครงการบริหารจัดการพื้นที่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติอย่างยั่งยืน: โครงการบริหารจัดการพื้นที่สิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทน้ำตก ในพื้นที่นำร่องนำ้ตกธารารักษ์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระยะที่ ๒
3. การสร้างแหล่งพันธุกรรมธรรมชาติของจระเข้สยาม (Siamese Crocodile; Crocodylussiamensis) ในอุทยานแห่งชาติปางสีดาและอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง
4. พัฒนาสวนรวมพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
5. การอนุรักษ์ข้าวป่าในสภาพธรรมชาติ
6. อนุรักษ์พันธุกรรมไม้ป่าชายเลนและป่าชายฝั่ง
7. แผนงานวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรพันธุกรรมพืช
2.1.4.3 อนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช และสัตว์พื้นเมือง และชนิดพันธุ์อื่นที่มีคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม 1. โครงการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และการจัดทำบัญชีข้อมูลของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของสัตว์พื้นเมือง
2. ศึกษาการเก็บรักษา oocyte /ตัวอ่อน/เนื้อเยื่อสัตว์พื้นเมือง
3. โครงการขึ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น
4. โครงการพัฒนาสัตว์เลี้ยงไทย
5. โครงการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชอาหารสัตว์พื้นเมืองหรือพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนา
6. โครงการสำรวจและศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารสัตว์พื้นเมือง
7. โครงการศึกษาและสำรวจลักษณะพันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น
8. โครงการศึกษาลักษณะน้ำเชื้อสัตว์พื้นเมืองไทย
9. โครงการสำรวจแหล่งประชากรกระบือพันธุ์ดีประจำถิ่น
10. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรเพื่อใช้ประโยชน์จากพืชอาหารสัตว์พื้นเมือง
11. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านปศุสัตว์
12. สำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่างและพันธุกรรมพืชและสัตว์ทะเลร่วมกับ อบต. โรงเรียน ชุมชนท้องถิ่น เพื่อประเมินสถานภาพของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
2.1.4.4 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดความเสี่ยงจากการสูญสลายของสายพันธุ์พืชและสัตว์พื้นเมือง 1. จัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprint) พืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองของไทย
2. โครงการเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ทางปศุสัตว์
3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองไทยด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
4. โครงการเก็บรักษาน้ำเชื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ (Semen Bank)
5. ศึกษาการผลิตโคพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ (Advance Assistant Reproductive Molecular Biotechnology)
6. โครงการจำแนกสายพันธุ์สัตว์พื้นเมืองประจำถิ่นด้วยเทคนิคชีวโมเลกุล
7. รวบรวมและจัดทำข้อมูลพันธุกรรมระดับชีวโมเลกุล (ข้อมูลดีเอ็นเอ) ของพืชป่าแต่ละชนิดที่สำคัญจากแหล่งธรรมชาติ
8. การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบบาร์โค้ดจากข้อมูลทางพันธุกรรมของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.5.1 ส่งเสริมการผสานการจัดการระบบนิเวศต่างๆ เข้าด้วยกัน สู่ภูมิทัศน์และชลทัศน์ ที่กว้างกว่า เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและคงไว้ซึ่งบริการทางนิเวศ 1. โครงการ Integrating Natural Capital and Sustainable Rice Production in Thailand
2. โครงการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีความสำคัญระดับโลกในพื้นที่ภาคการผลิต (Conserving Habitats for Globally Important Flora and Fauna in Production Landscapes)